วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การจำนองอสังหาริมทรัพย์ ( ที่ดิน )

การจำนองคือ การที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า " ผู้จำนอง " เอาอสังหาริมทรัพย์ของตนเช่นที่ดิน หรือ ทรัพย์ทื่กฏหมายอนุญาตให้จำนองไปจดทะเบียนไว้กับอีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า" ผู้รับจำนอง " เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบ ที่ดิน หรือ ทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง เช่น เมื่อท่านมีที่ดินเปล่า หนึ่งแปลง ต้องการกู้เงินจากธนาคาร มาเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ท่านไปขอกู้เงินกับธนาคาร ๆ เมื่อธนาคารอนุมัติเงินกู้ ธนาคารจะให้ท่านจำนอง ที่ดินแปลงดังกล่าวไว้กับธนาคาร ๆ เป็น " ผู้รับจำนอง " เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ถ้าท่านไม่สามารถ ชำระหนี้ให้แก่ธนาคารได้ ธนาคารก็จะฟ้องร้องบังคับ หลักประกัน ต่อไป โดยการจำนอง ต้องทำที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น ถึงจะถูกต้องตามกฏหมาย โดยจ่ายค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าจำนองแต่ไม่เกิน 200,000 บาท หรือให้อัตรา 0.5 % อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีจำนองสำหรับการให้สินเชื่อเพื่อการเกษตร ให้กับสำนักงานที่ดินเป็นค่าธรรมเนียม การจำนองมี 2 ลักษณะคือ
---------------1. การจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ของตนเอง
---------------2. การจำนอง เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น
---------------การจำนอง กฏหมายกำหนดแบบไว้ว่า จะต้องทำเป็นหนังสือ และ จดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถ้าการจำนอง ไม่ทำตามแบบการจำนองย่อมเป็นโมฆะ โดยสัญญาการจำนอง ควรจะระบุให้ชัดเจน เกี่ยวกับมูลค่าเช่น กู้เงิน 1,000,000 บาท โดยนำทีดิน มูลค่า 2,000,000 บาท มาจำนอง สามารถระบุให้ชัดเจนว่า การจำนองนี้เป็นหลักประกันหนี้ เพียง 1,000,000 บาท เท่านั้น ส่วนการฟ้องร้องบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองอาจ บังคับเอาหลักทรัพย์จำนอง เป็นสิทธิของตนได้ แต่ต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้คือ
-----1. ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ย มาเป็นเวลาถึง 5 ปี
-----2. ผู้จำนอง มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า ราคาทรัพย์สินนั้น ท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำะอยู่
-----3. ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือ บุริมสิทธิอื่นได้ จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
--------เมื่อมีการบังคับขายทอดตลาด ทรัพย์สินที่จำนอง เงินได้ที่จากการขายทอดตลาด ภายหลังหักค่าฤชา ธรรมเนียม แล้วเหลือเป็นจำนวนเท่าใด จะต้องจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ถ้าเจ้าหน้าได้รับครบถ้วนแล้ว เหลือเงินเท่าใด ก็ต้องคืนให้แก่ผู้จำนอง แต่ถ้าขายแล้วเงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ไม่ต้องรับผิดชอบในเงินนั้นอีก เว้นเสียจากมีช้อตกลงในสัญญาจำนอง ว่าถ้าเงินที่ขายทอดตลาดไม่เพียงพอเจ้าหนี้สามารถเรียกร้องส่วนที่ขาดได้ โดยเหตุที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สินที่จำนอง ยังคงเป็นของผู้จำนอง ดังนั้นผู้จำนองอาจจำหน่ายทรัพย์สินได้ แต่ทั้งนี้ผู้รับโอนทรัพย์สิน ต้องรับภาระจำนองที่ติดกับทรัพย์สินนั้นด้วย 









วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง

ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง
ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง (อังกฤษLocation theory) เป็นทฤษฎีว่าด้วยทำเลที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ (economic geographyภูมิภาควิทยา (regional science) และ เศรษฐศาสตร์เชิงพื้นที่ (spatial economics) ทฤษฎีทำเลที่ตั้งอธิบายถึงเหตุผลที่ว่าเหตุใดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเฉพาะประเภทหนึ่งจึงไปตั้งอยู่เฉพาะ ณ ที่แห่งหนึ่ง เช่นเดียวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค - ทฤษฎีทำเลที่ตั้งอาศัยสมมุติฐานที่ว่าผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบริษัทและบุคคลทำไปก็เพื่อประโยชน์ของตนเองจึงได้เลือกทำเลที่ตั้งที่จะทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุด คือการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค


มีหลายคนที่ควรได้รับการยกย่องในการให้กำเนิดทฤษฎีนี้ (เช่น ริชาร์ด แคนทิลลอน, Etienne Bonnot de Condillacเดวิด ฮูม, เซอร์เจมส์ สจวต, และเดวิด ริคาโด) แต่เมื่อจนกระทั่ง โจฮันน์ ไฮน์ริช วอน ทูเนน (Johann Heinrich von Thünen) ได้ตีพิมพ์หนังสือ Der Isolierte Staat เล่มแรกขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2369 จึงจะนับได้ว่าทฤษฎีทำเลที่ตั้งได้เริ่มมีตัวตนชัดเจนขึ้น[1] [2] ความจริงแล้ว วอลเตอร์ ไอสาร์ด (Walter Isard) นักภูมิภาควิทยา (regional scientist) ได้ยกย่องให้ทูเนนว่าเป็น “บิดาแห่งนักทฤษฎีทำเลที่ตั้ง[3] ในหนังสือเล่มดังกล่าว ทูเนนให้ข้อสังเกตว่าค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าเป็นตัวการที่ทำให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตาม ทฤษฎีของริคาโด ลดลง ทูเนนให้ข้อสังเกตอีกด้วยว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งและผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจที่มีความผันแปรไปตามประเภทของสินค้า ตามประเภทการใช้ที่ดินและความเข้มในการใช้การขนส่งนี่เองเกิดจากระยะทางของแหล่งผลิตสินค้ากับตลาด
ความเป็นเจ้าผู้ครองตลาดหลายชนิดสินค้าของเยอรมันดูเหมือนจะเป็นผลจากทฤษฎีทำเลที่ตั้งนับแต่สมัยของฟอนทูเนนไปถึงสมัยของหนังสือเรื่อง Die Zentralen Orte in Sűddeutschland ของวอลเตอร์ คริสทัลเลอร์ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2476 ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งเรารู้จักในชื่อ “ทฤษฎีทำเลกลาง” (central place theory) อีกแนวหนึ่งที่มีส่วนมากได้แก่หนังสือของ อัลเฟรด เวเบอร์ ชื่อ Über den Standort der Industrien ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2452[4] โดยปรับแนวคิดของกรอบทางกายภาพคล้ายความคิด Varignon frame ของ Pierre Varignon โดยเวเบอร์ประยุกต์อัตราค่าขนส่งวัตถุดิบและสินค้าไปพร้อมกับการผลิตสินค้าที่สำเร็จแล้วพัฒนาให้เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการบ่งชี้ว่าตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุดของแหล่งผลิตควรอยู่ที่ใด นอกจากนี้ยังบ่งบอกถึงความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากแรงงานที่เกาะกลุ่มและกระจาย จากนั้นเวเบอร์จึงอภิปรายถึงการรวมกลุ่มของหน่วยการผลิตโดยอาศัยการคาดการณ์แหล่งตลาด
คาร์ล วิลเฮม เฟรดริช ลุนฮาร์ต (Carl Wilhelm Friedrich Launhardt Launhardt) มีส่วนให้แนวคิดนี้แก่เวเบอร์ผู้ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากก่อนงานตีพิมพ์ของเวเบอร์ นอกจากนี้ความคิดของลุนฮาร์ตยังมีความเป็นสมัยใหม่ในเชิงของการวิเคราะห์มากกว่าของเวบเบอร์เสียอีก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าลุนฮาร์ตก้าวหน้าเกินสมัยทำให้ไม่มีผู้ในร่วมสมัยเข้าใจผลงานของตนมากนัก ไม่เป็นที่ชัดแจ้งว่าเวเบอร์รู้เรื่องงานของลุนฮาร์ตมากน้อยเพียงใด เป็นที่แน่ชัดว่าเวเบอร์ได้รับอิทธิพลจากคนอื่นๆ โดยเฉพาะจากวิลเฮล์ม รอชเชอร์ (Wilhelm Roscher) และอัลเบิร์ต แชฟเฟิล (Albert Schäffle) ซึ่งดูเหมือนจะได้เคยอ่านงานของเวเบอร์มาก่อน แต่อย่างก็ดี การแพร่หลายของทฤษฎีทำเลที่ตั้งที่อย่างเป็นที่รู้จักกันมากนั้น ได้เกิดขึ้นหลังการตีพิมพ์ผลงานของเวเบอร์

ความหมายของการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ
                    การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ หมายถึง การจัดหาหรือสรรหาสถานที่
สำหรับประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึง กำไร ค่าใช้จ่าย พนักงาน ความ
สัมพันธ์กับลูกค้าความสะดวก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ดีตลอดระยะเวลาที่ประกอบ
ธุรกิจนั้น


ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ

          
การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การธุรกิจ
กล่าวคือ หากเลือกทำเลที่ไม่เหมาะสมจะทำให้องค์การธุรกิจประสบปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น
ค่าขนส่งสูง เนื่องจากสถานประกอบธุรกิจอยู่ไกลจากแหล่งวัตถุดิบ และตลาด นอกจากนี้ อาจ
ขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการ
ผลิต และการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ โดยทั่วไปลักษณะของทำเลจะไม่มีลักษณะใดที่ดี
กว่ากันอย่างชัดเจน แต่จะเกิดจากการพิจารณาลักษณะดีของแต่ละทำเลนำมาประกอบกัน
เพื่อการตัดสินใจเลือกที่ใช้ตั้งสถานประกอบธุรกิจที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต ให้น้อยที่สุด
การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ โดยทั่วไปมักจะพยายามหาแหล่งหรือทำเลที่ทำ
ให้ต้นทุนรวมของการผลิตสินค้าและ บริการที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แต่ลักษณะของการ
ประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบกิจการย่อมแตกต่างกันในเรื่องของชนิดสินค้า ค่าใช้จ่าย
และการลงทุน ดังนั้นการพิจารณาเลือกทำเลจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ หลาย
ประการเพราะการเลือกทำเลที่ตั้ง มีความสำคัญต่อการ ดำเนินงานขององค์การธุรกิจต่าง ๆ
เช่น การวางแผนระบบการผลิต การวางผังโรงงาน การลงทุน และรายได้ เป็นต้น




วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ประเภทต่างๆ

หนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน

ออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน  ได้แก่
1.   ใบจอง (น.ส.2)  หมายความถึง หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราวเป็นหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่ทางราชการออกให้เนื่องจากการจับจองตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ยังไม่ให้สิทธิ์ครอบครองในที่ดินโดยสมบูรณ์ เพราะเป็นการอนุญาตให้ผู้จับจองที่ดินเข้าทำประโยชน์เป็นการชั่วคราว หากเห็นว่าผู้ที่เข้าครอบครองทำประโยชน์นั้นไม่ได้ทำประโยชน์ภายในเวลาที่กำหนด หรือเข้าทำประโยชน์แล้วทำประโยชน์ไม่แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด ทางราชการก็จะให้ผู้นั้นหมดสิทธิ์ในที่ดินและจะนำไปจัดให้บุคคลอื่นต่อไป ผู้มีชื่อในใบจองจึงยังไม่ใช่เจ้าของ จะนำไปจดทะเบียนขายไม่ได้ จำนองไม่ได้ เว้นแต่การโอนทางมรดก เมื่อทำประโยชน์ในใบจองเสร็จนำไปออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้แล้วแต่กรณี สำหรับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกจากใบจองต้องห้ามโอนภายใน 10 ปี (บางกรณีห้ามโอนภายใน 5 ปี หรือไม่ให้โอนเลย)


2.    หนังสือรับรองการทำประโยชน์ หมายความถึง หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้วมีเพียงสิทธิ์ครอบครอง (ไม่มีกรรมสิทธิ์) มีทั้งหมด 3 แบบ คือ
2.1       แบบ น.ส. 3  เป็นแบบธรรมดาออกได้ในพื้นที่ทั่วไป  รูปแผนที่ใน น.ส. 3 เป็นแผนที่รูปลอย มีการยึดโยงเหมือนกันแต่เป็นการยึดโยงกับถาวรวัตถุหรือสิ่งอื่นที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น เช่น ต้นไม้ยืนต้นที่สภาพไม่แน่นอนการหาตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินจึงไม่แน่นอนยากต่อการตรวจสอบการจดทะเบียนนิติกรรมแต่ละครั้งจึงต้องทำการประกาศก่อน
2.2       แบบ น.ส. 3 ก.  ออกได้เฉพาะในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางรูปถ่ายทางอากาศแล้วเท่านั้น รูปแผนที่สามารถยึดโยงได้กับระวาง มีตำแหน่งแน่นอนไม่เหมือนกับแบบ น.ส. 3 ข้อจำกัดของแบบ น.ส. 3 ก. ก็คือ ออกไม่ได้ทุกพื้นที่ พื้นที่ใดที่ยังไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศจะออก น.ส. 3 ก. ไม่ได้
2.3       แบบหมายเลข 3 ออกได้ทุกพื้นที่   วิธีการออกเหมือนกับการออก น.ส. 3 แต่ปัจจุบันไม่มีการออกแล้ว เพราะกรมที่ดินไม่พิมพ์ไปให้ ถ้ามีการแบ่งแยกที่ดินแปลงแยกจะออกเป็นแบบ น.ส. 3

3.   ใบไต่สวน (น.ส.5)  หมายความถึง หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน และให้หมายความรวมถึง ใบนำด้วย ก่อนที่จะออกโฉนดที่ดินทุกครั้งจะต้องทำใบไต่สวนขึ้นก่อนทุกครั้ง เพราะใบไต่สวนเป็นแบบการสอบสวน เหตุที่กฎหมายกำหนดให้ใบไต่สวนเป็นหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดินและให้จดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมในใบไต่สวนได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดินก็เพราะ เมื่อสมัยก่อนนั้น การที่กรมที่ดินได้ดำเนินการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่ใดแล้ว เจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจะนำเรื่องการออกโฉนดที่ดินทั้งหมดกลับมาที่กรมที่ดินเพื่อเขียนโฉนดแล้วนำไปแจกโฉนดที่ดินให้ราษฎรภายหลัง บางครั้งใช้เวลาเป็นปี ๆ ทำให้ราษฎรเดือดร้อนเพราะจะทำการโอนที่ดินหรือนำที่ดินไปจดทะเบียนสิทธิ์อื่นไม่ได้ เช่น จำนองเพื่อประกันการกู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมายจึงกำหนดให้ใบไต่สวนเป็นหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินที่จะจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมใด ๆ ได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน ดังนั้น เมื่อทางราชการได้ไปทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่ใดทางราชการจะแจกใบไต่สวนให้ราษฎรยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้ออกโฉนดที่ดินแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ใบไต่สวนมีบทบาทน้อยมาก เพราะเมื่อทางราชการไปทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในท้องที่ใดได้เตรียมการออกโฉนดที่ดินไว้พร้อมที่จะแจกโฉนดที่ดินให้ราษฎรได้ก่อนที่จะกลับ ทางปฏิบัติจึงแจกใบไต่สวนพร้อมทั้งแจกโฉนดที่ดินไปในคราวเดียวกัน
                      ส่วนใบนำก็เช่นเดียวกับใบไต่สวน กล่าวคือ เมื่อเจ้าหน้าที่ไปเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดินให้เจ้าของที่ดินไปนำทำการเดินสำรวจ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ทำการสอบสวนเสร็จแล้วก็ออกใบนำให้เจ้าของที่ดินไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้น ก่อนออกโฉนดที่ดินบางสมัยก็ออกใบไต่สวน บางสมัยก็ออกใบนำจึงจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมต่าง ๆ ในใบนำได้ ปัจจุบันใบนำไม่มีออก ที่เหลืออยู่ก็ส่วนน้อยและค่อย ๆ หมดไป
 4.     โฉนดที่ดิน  (น.ส.4, น.ส. 4 ก. ฯลฯ)  หมายความถึง  หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน และให้หมายความรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว
4.1       โฉนดที่ดิน  ออกตามประมวลกฎหมายที่ดิน การที่จะออกโฉนดที่ดินได้จะต้องเป็นท้องที่ที่ได้สร้างระวางแผนที่หรือระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศแล้วเท่านั้น ถ้าไม่มีจะออกโฉนดที่ดินไม่ได้ ตำแหน่งของโฉนดที่ดินแต่ละแปลงที่ออกให้สามารถหาตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินได้แน่นอน เพราะมีการยึดโยงกับระวางได้ ซึ่งระวางดังกล่าวสร้างจากศูนย์กำเนิด ปัจจุบันศูนย์กำเนิดของระวางที่ใช้อยู่มี 29 ศูนย์ เช่น ที่กรุงเทพมหานครใช้ศูนย์กำเนิดที่ภูเขาทอง ที่จังหวัดนครปฐม ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นศูนย์กำเนิด ที่เชียงใหม่ใช้ยอดเจดีย์ของวัดกู่เต้า เป็นต้น แต่ปัจจุบันกรมที่ดินได้นำระวางแผนที่ระบบพิกัดจาก U.T.M. ซึ่งหาตำแหน่งโดยระบบสากลมาใช้ และระบบศูนย์กำเนิดก็จะค่อย ๆ หมดไป
4.2       โฉนดแผนที่ ออกตามประกาศออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2445) ซึ่งโฉนดที่ดินฉบับแรกออกที่อำเภอบ้านแป้ง อำเภอพระราชวัง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันคืออำเภอบางปะอิน ต่อมาได้ออกเป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2452) เหตุที่เรียกโฉนดแผนที่เพราะโฉนดที่ออกมีแผนที่ด้วย ซึ่งแตกต่างจากโฉนดที่แบบเดิมซึ่งไม่มีแผนที่ เช่น โฉนดสวน โฉนดป่า (เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี) วิธีการออกโฉนดแผนที่เหมือนกับการออกโฉนดที่ดินทุกประการ หรือจะกล่าวว่าโฉนดแผนที่ก็คือโฉนดที่ดินก็ไม่ผิด
 4.3       โฉนดตราจอง  ออกตามพระราชบัญญัติออกตราจองชั่วคราว ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2446) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดตราจอง ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2449) ออกในมณฑลพิษณุโลก คือ จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร อุดรดิตถ์ และสุโขทัย ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดทำให้โฉนดตราจองตกอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์บางส่วน ปัจจุบันไม่มีออก (เพราะ พ.ร.บ. ออกโฉนดตราจอง ร.ศ. 124 ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497) จะออกใหม่ก็เฉพาะออกเนื่องจากการแบ่งแยกโฉนดตราจองเดิม แต่ปัจจุบันกรมที่ดินไม่ได้พิมพ์แบบพิมพ์โฉนดตราจองแล้ว จึงให้นำแบบพิมพ์โฉนดที่ดินมาใช้แทนแล้วประทับตราว่า “โฉนดตราจอง”โฉนดตราจองเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน จึงจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน
4.4       ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ออกตราพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 479 ออกได้ทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดพื้นที่ เช่น โฉนดตราจอง เดิมได้มีการออกตราจองที่เป็นใบอนุญาต เจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ออกเมื่อทำประโยชน์เสร็จแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินจะออกตราจอง “ได้ทำประโยชน์แล้ว” ให้ ปัจจุบันไม่มีออก (เพราะ พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2479 ถูกยกเลิก โดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497) จะออกใหม่ก็เฉพาะออกเนื่องจากการแบ่งแยกตราจองฯ เดิม แต่ปัจจุบันกรมที่ดินไม่ได้พิมพ์แบบพิมพ์ตราจองฯ แล้ว จึงให้นำแบบพิมพ์โฉนดที่ดินมาใช้แทน แล้ว ประทับตราว่า “ตราจอง” เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับโฉนดที่ดินจึงจดทะเบียนสิทธิ์และนิติกรรมต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดิน

อกสารสิทธิที่ราชการออกให้

หนังสือทั้ง 4 ประเภทนี้ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ผู้ที่มีแบบ ก.ส.น. 5 ก็ดี น.ค.3 ก็ดี จะต้องไปขอออกหนังสือรับรองทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินแล้วแต่กรณี ซึ่งเมื่อออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินดังกล่าวแล้วจะต้องห้ามโอน 5 ปี รายละเอียด ดังนี้
ภ.บ.ท. 5
เป็นแบบยื่นภาษีบำรุงท้องที่
ก.ส.น.5
เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้ในนิคมสหกรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการ
ครองชีพ พ.ศ. 2511
น.ค. 3
เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้ในนิคมสร้างตนเอง ตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511
ส.ท.ก.
เป็นหนังสือสิทธิทำกินในเขตป่าไม้ ซึ่งทางกรมป่าไม้เป็นผู้ออกให้
ส.ป.ก
เป็นการปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมรวมตลอดจนถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือ มีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ และสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิตตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ภายใต้ พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532
.บ.ท. 5
เป็นแบบยื่นภาษีบำรุงท้องที่ ความหมายของที่ดิน ใน ภ.บ.ท. 5  หมายความว่า พื้นที่ดินและให้หมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย (มาตรา 6) ซึ่งมีข้อยกเว้น ตาม (มาตรา 8) เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องถิ่น สำหรับที่ดินต่อไปนี้
1)     ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
2)  ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะ โดยมิให้หาผลประโยชน์
3)     ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสาธารณะโดยมิได้หาประโยชน์
4)     ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
5)  ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประโยชน์ศาสนกิจ ศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
6)     ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถาน สาธารณะโดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
7)     ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือที่ใช้เป็นสนามบินของรัฐ
8)     ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว
9)  ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้ หรือหาประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
10) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่มีข้อผูกพันยกเว้นตามอนุสัญญาหรือข้อตกลง
11) ที่ตั้งสถานทูต สถานกงสุล
12) ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

.ส.น. 5
เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้นิคมสหกรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511การได้สิทธิในที่ดินของสมาชิกนิคมสหกรณ์ การจัดการที่ดินลักษณะนี้ กฎหมายมุ่งที่จะให้สมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินที่ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดิน (โฉนดที่ดินหรือตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว) หรือสิทธิครอบครอง (น.ส.3) เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์นั้น ๆ ปฏิบัติตามกฎหมายไว้ คือ
1)     เมื่อสมาชิกนิคมสหกรณ์ได้ทำประโยชน์ที่ดินแล้ว
2)     เป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
3)     ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อย
4)     ชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว
สมาชิกนิคมสหกรณ์ที่ปฏิบัติครบตามหลักเกณฑ์ ทั้ง 4 ข้อ ดังกล่าว กรมส่งเสริมสหกรณ์จะออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์นั้น ๆ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการที่ตนเป็นสมาชิกอยู่เมื่อได้รับอนุญาตแล้วสมาชิกนิคมสหกรณ์ผู้นั้นก็สามารถนำหลักฐานดังกล่าวไปออกโฉนดที่ดินหรือ น.ส. 3  ผู้ได้มาซึ่งที่ดินจะโอนที่ดินไปให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกอยู่ และภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีด้วย

 .ค. 3  
เป็นหนังสือแสดงการทำประโยชน์ ซึ่งออกให้ในนิคมสร้างตนเองตาม พ.ร.บ. จัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511  การได้สิทธิในที่ดินของสมาชิกนิคมสร้างตนเอง เมื่อสมาชิกได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข คือ
1)     ต้องเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2)     ต้องไม่มีหนี้สินที่เกี่ยวกับกิจการนิคม
3)     ชำระเงินค่าช่วยทุนรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว
4)  ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดินตามมาตรา 8  ตาม พ.ร.บ จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 สมาชิกสงเคราะห์จะออกหนังสือการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเอง

 .ท.ก.
                   กรมป่าไม้ได้เริ่มดำเนินการให้สิทธิทำกิน (สทก.) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มานับตั้งแต่ปี 2525 ต่อมาปี พ.ศ. 2528 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 กำหนดให้มีมาตรา 16 ทวิ และมาตรา 16 ตรี ขึ้นเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่มีความจำเป็นในการครองชีพ สามารถเข้าทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้โดยไม่เดือนร้อน และโดยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งซึ่งความตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการรับรองว่าสิทธิทำกิน (สทก.) ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่กรมป่าไม้มอบให้กับราษฎรนั้นเป็นไปตามกฎหมาย
 การออกหนังสือ สทก.
1.   การที่จะให้ “สทก.” ในเขตป่าสงวนแห่งชาติใด ๆ กรมป่าไม้จะต้องส่งเจ้าหน้าที่ออกไปเดินสำรวจในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น ๆ ว่ามีพื้นที่บริเวณใดที่ยังคงมีสภาพป่าดีอยู่ มีพื้นที่ใดที่ควรสงวนรักษาไว้มีพื้นที่ที่หมดสภาพป่าไปแล้วเป็นสภาพที่มีลักษณะเสื่อมโทรมจำนวนเท่าใด จัดทำแผนที่รายงานต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามประกาศกำหนดให้บริวเณพื้นที่ที่สภาพเสื่อมโทรมดังกล่าวให้เป็น “เขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ” แล้วกรมป่าไม้ก็จะส่งเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจสภาพพื้นที่เพื่อพิจารณาให้สิทธิทำกินต่อไป
2.      เมื่อกรมป่าไม้กำหนดที่จะทำการสำรวจสภาพพื้นที่ในเขตป่าใด
2.1     ประชาสัมพันธ์นัดหมายราษฎรพื้นที่มาประชุมฟังคำชี้แจงถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
2.2  ให้ราษฎรผู้ครอบครองที่ดินในเขตปรับปรุงป่าสงวนแหงชาติ ยื่นคำขอมีสิทธิทำกิน ตามเวลากำหนด โดยต้องนำบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านไปเป็นหลักฐานด้วย
2.3   เจ้าหน้าที่นัดหมายรษารผู้ยื่นคำขอแต่ละรายมานำสำรวจการถือครอบและตรวจสอบสภาพพื้นที่ หากถูกต้องตามกลักเกณฑ์และข้อกำหนดก็จำทำการรังวัดขอบเขตแปลงที่ดิน พร้อมกับฝังหลักเขตแสงดแนวแปลงที่ดิน
3.   หนังสือ “สทก.” ที่มอบให้ราษฎรจะลงนามอนุญาตโดยผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ที่ป่าสงวนแห่งชาตินั้นตั้งอยู่ มีลักษณะดังนี้
                              แบบที่ 1    เรียกว่า “หนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ และอยู่อาศัยภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ” หรือแบบ สทก.1ก. เป็นหนังสืออนุญาตให้ครั้งแรก มีอายุการอนุญาต 5 ปี ขนาดเนื้อที่อนุญาตให้ตามที่ครอบครองอยู่จริง แต่ไม่เกิน 20 ไร่ ต่อครอบครัว ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตเมื่อครบกำหนดการอนุญาตให้ครั้งแรก จะเปลี่ยนหนังสืออนุญาตตามแบบ สทก.2 ก
แบบที่ 2    แบบ สทก.2 ก ออกให้สำหรับผู้ที่ได้รับ สทก.1 ก มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไข กรมป่าไม้จะออกหนังสือฉบับนี้ให้เพื่อมีสิทธิทำกินในที่ดินเดิมต่อไปซึ่งไม่เกิน 20 ไร่ ต่อครอบครัว (โดยจะเรียกเก็บหนังสือ สทก.1 ก ด้วย) มีอายุการอนุญาต 5 ปี และต้องชำระค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตให้อัตราไร่ละ 20 บาท (ต่อหนึ่งคราวการอนุญาต) เมื่อครบกำหนดก็จะมีการพิจารณาต่ออายุให้
แบบที่ 3    เรียกว่า “หนังสืออนุยษตให้ทำการปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นภายในเขตปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติ” หรือ แบบ สทก.1 ข เป็นหนังสืออนุญาตที่ออกให้แก่ราษฎรผู้ที่ได้รับ สทก.1 ก หรือ สทก.2 ก ที่ครอบครองพื้นที่เกิดกว่า 20 ไร่ และมีความประสงค์จะปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นภายในเนื้อที่ไม่เกิน 35 ไร่ ต่อครอบครัว มีอายุการอนุญาตคราวละ 10 ปี และจะต้องชำระค่าธรรมเนียมหนังสืออนุญาตในอัตราไร่ละ 20 บาท ทั้งนี้ราษฎรจะต้องปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่าไร่ละ 25 ต้น เมื่อครบกำหนดเวลาการอนุญาตก็สามารถต่ออายุได้

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้มีสิทธิทำกิน                     

1.   จะต้องเป็นป่าสงวนแห่งชาติที่มีลักษณะเป็นป่าสงวนแห่งชาติที่มีลักษณะเป็นป่าเสื่อมโทรมที่กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจพิสูจน์แล้ว
2.      เป็นพื้นที่ที่ได้ทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยอยู่แล้ว
3.      ไม่อยู่ในพื้นที่ป่าที่มีสภาพเป็น ต้นน้ำลำธาร ภูเขาสูงชัน หรือมีสภาพที่ควรรักษาไว้
4.      ไม่เป็นป่าชายเลน
5.      ไม่เป็นพื้นที่ป่าที่ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการป่าไม้
6.      ไม่เป็นบริเวณที่มีทิวทัศน์สวยงามอันควรรักษาไว้
7.      ไม่เป็นพื้นที่ซึ่งได้ทำการปลูกสร้างสวนป่า หรือได้รับอนุมัติโครงการสำหรับปลูกป่าระยะ 5 ปีไว้แล้ว

คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตมีสิทธิทำกิน

-          เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่ใช่นิติบุคคล)
-          บรรลุนิติภาวะแล้ว และเป็นหัวหน้าครอบครัว
-          เป็นผู้ที่ได้ประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในพื้นที่ที่ขอมีสิทธิทำกินอยู่แล้วสิทธิ
1.      สามารถอยู่อาศัยและทำกินต่อไปในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยถูกต้องตามกำหมาย
2.      สิทธิทำกินตกทอดไปถึงทายาทได้
3.   สามารถขออนุญาตทำไม้ที่ได้ปลูกขึ้นภายในที่ดินที่ได้รับอนุญาต (ตามแบบ สทก.1 ก หรือ สทก.2 ก หรือ สทก.1 ข)เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ต้องชำระค่าภาคหลวงและค่าบำรุงป่า
4.   สามารถขอรับการสนับสนุนเงินทุน ในรูปของสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตร ได้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามโครงการที่กรมป่าไม้ และ ธ.ก.ส. จัดทำขึ้น

หน้าที่

                   ผู้ที่ได้รับ สทก. ต้องปฏิบัตินั้นคือ ข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขของหนังสืออนุญาตแบบต่าง ๆ ซึ่งปรากฏหลังของหนังสืออนุญาตแบบต่าง ๆ สารสำคัญคือ
1.   จะต้องทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับจาก สทก. ตามวัตถุประสงค์ที่ขอไว้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด และจะให้บุคคลอื่นนอกจากบุคคลในครอบครัว เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวมิได้
2.      ห้ามซื้อ-ขายที่ดิน สทก.
3.      ห้ามละทิ้งไม่ทำประโยชน์ หรือไม่อยู่อาศัยในที่ดินที่ได้รับ สทก.
4.      ห้ามบุกรุกแผ้วถางป่าในบริเวณติดต่อใกล้เคียง
5.   ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ มาขอตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขหนังสืออนุญาต สทก. หากไม่ปฏิบัติตาม “หน้าที่”หรือ ทำผิด “เงื่อนไข” จะถูกเพิกถอน “สิทธิทำกิน” โดยจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในกรณีใด ๆ มิได้

การตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไข สทก.
                   กรมป่าไม้จะส่งเจ้าหน้าที่ออกมาพบประชาชนผู้ได้รับ สทก. โดยสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบการใช้ที่ดิน ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขหรือไม่หากถูกต้องก็จะมี “สิทธิทำกิน” ต่อไปเรื่อย ไ

 การดำเนินการในปัจจุบัน

                   ปัจจุบันกรมป่าไม้ไม่ได้มีการออก สทก. เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งเกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกินก็จะหันไปขอเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. แทน แต่สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิ สทก. แต่เดิมอยู่แล้วก็ยังคงมีสิทธิอยู่ตามเดิม

การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)
ความหมายของ “การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม” กำหนดไว้ในกฎหมายปฏิรูปที่ดินมาตรา 4 ความว่า “การปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมรวมตลอดจนถึงการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น โดยรัฐนำที่ดินของรัฐหรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวนคืนเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือ มีที่ดินเกินสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือเกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ และสถาบันเกษตรกรได้เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิตตลอดจนการผลิตและการจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น”
การปฏิรูปที่ดินเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเพื่อการเกษตรเป็นของ
ตนเองอย่างถูกต้องตามกฎหมายตลอดไปตามขนาดและความจำเป็นของเกษตรกรรมนั้น ๆ พร้อมทั้งมีการพัฒนาพื้นที่ปรับปรุง ก่อสร้างถนน แหล่งน้ำ สาธารณูปโภคต่าง ๆ และส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรเพื่อให้มีรายได้และสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยมีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ภายใต้ พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2519 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 จึงเห็นได้ชัดว่าเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นอกจากมุ่งหมายให้เกษตรกรมีความเท่าเทียมกันด้านสิทธิและการถือครองที่ดินแล้วยังให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพและรายได้ของเกษตรกรเพื่อให้สามารถดำรงชีพในที่ดินที่ได้รับจากการปฏิรูปที่ดินได้งานหลักของ ส.ป.ก. จึงมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1)     งานจัดที่ดิน โดยนำที่ดินของรัฐและที่ดินเอกชนมาให้เกษตรกรเช่า เช่าซื้อ
2)     งานพัฒนาขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน แหล่งน้ำ เท่าที่จำเป็นในเขตปฏิรูปที่ดิน
3)     งานพัฒนาอาชีพและรายได้ของเกษตรกร
 “เกษตรกร” หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และให้หมายความรวมถึงบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรมหรือเป็นบุตรของเกษตรกรบรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเอง และประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาด้วย
คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับที่ดิน
ผู้ที่จะได้รับการจัดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยวิธีการปฏิรูปที่ดินจะต้องเป็นเกษตรกรเท่านั้น กล่าวคือ
1.   เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มิใช่อาชีพอื่น และต้องไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือมีเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ
2.   เป็นผู้ซึ่งประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ ผู้ที่ยังไม่เป็นเกษตรกร แต่ประสงค์จะเป็นเกษตรกรและมาขอรับการจัดที่ดินโดยจะต้องเป็นผู้ที่ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือเป็นบุตรของเกษตรกร และต้องไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและไม่มีอาชีพอื่น อันมีรายได้ประจำเพียงพอแก่การยังอาชีพอยู่แล้ว

การดำเนินการปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ
การปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ หมายถึง การนำที่ดินของรัฐซึ่งถูกราษฎรบุกรุกถือครองโดยไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย หรือที่ดินที่รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้มาจัดให้เกษตรกรเข้าทำกินเป็นการถาวรและถูกต้องตามกฎหมาย หรือ การปฏิรูปที่ดินในที่ดินของรัฐ หมายถึง การที่ ส.ป.ก. นำที่ดินของรัฐ ได้แก่ ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตป่าไม้ถาวรที่เสื่อมโทรม ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนเลิกใช้ร่วมกัน ที่ราชพัสดุ ที่กระทรวงการคลังให้ความยินยอมแล้ว ที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินที่จำแนกออกจากเขตป่าไม้ถาวร นำมาจัดให้เกษตรกรเช่า เช่าชื้อ เข้าทำประโยชน์ หรือจัดให้โดยมีค่าชดเชย

เอกสารสิทธิประเภทที่ราษฎรทำขึ้นเอง
แล้วนำไปแจ้งต่อทางราชการ

                    ซึ่งได้แก่ แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ซึ่งราชการประกาศให้ผู้ครอบครอง และทำประโยชน์อยู่ในที่ดินก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (1 ธ.ค.2497) ไปแจ้งการครอบครองต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 180 วัน
        วิธีการแจ้งนั้น เจ้าของที่ดินจะไปขอแบบพิมพ์ ส.ค. 1 จากพนักงานเจ้าหน้าที่ แบบพิมพ์นั้นจะเป็นแผ่นมีรอยปรุตรงกลางมีข้อความเหมือนกันทั้งสองข้าง เมื่อได้แบบพิมพ์มาแล้วเจ้าของที่ดินจะกรอกข้อความเองเหมือนกันทั้งสองข้างแล้วนำไปยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่จะลงเลขรับไว้ตามหมู่ที่ ตำบล อำเภอ ที่รับแจ้งลงในทะเบียนการครอบครองที่ดินแล้วตีตราประจำต่อใน ส.ค. 1 ตรงรอยปรุแล้วฉีก ส.ค. 1 ตามรอยปรุเป็น 2ฉบับ ฉบับหนึ่งเก็บไว้ที่อำเภอ อีกฉบับหนึ่งมอบให้เจ้าของที่ดินไป ส.ค. 1
          แต่หลังจากนั้น ก็มีการแจ้ง ส.ค. 1 เรื่อยมา โดยรับแจ้งเนื่องจากได้รับการผ่อนผันแจ้งการครอบครองจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นการเฉพาะราย การผ่อนผันแจ้งการครอบครองได้ดำเนินการมาถึงปี พ.ศ. 2515 จึงยกเลิกมาตรา 5 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 หลังจากปี พ.ศ. 2515 จึงไม่มีการผ่อนผันแจ้งการครอบครองที่ดิน เว้นแต่บางเรื่องที่ค้างพิจารณาอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ผ่อนผันได้ภายหลังจากนั้น
           การแจ้ง ส.ค. 1 ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด เดิมใครมีสิทธิอยู่อย่างไร เมื่อแจ้ง ส.ค. 1 แล้วก็คงมีสิทธิอยู่อย่างนั้น กล่าวคือ ถ้าเดิมใครครอบครองทำประโยชน์อยู่ในทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ป่าช้าสาธารณะ หรือป่าสงวน เมื่อแจ้ง ส.ค. 1 แล้วก็ยังเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์อยู่ในทุ่งเลี้ยงสัตว์สาธารณะ ป่าช้าสาธารณะ หรือป่าสงวนอยู่เช่นเดิม หรือเดิมเป็นผู้เช่าที่ดินคนอื่นแม้จะนำที่ดินที่เช่าไปแจ้ง ส.ค. 1 ก็ยังคงเป็นผู้เช่าอยู่เช่นเดิม ผู้แจ้งจะอ้างสิทธิใด ๆ ขึ้นใหม่ไม่ได้ และ .ค.1 นั้นไม่ใช้เอกสารสิทธิ อันเป็นเอกสารราชการ เพราะเจ้าหน้าที่ไม่ได้ทำขึ้นจึงเป็นเพียงเอกสารธรรมดา ส.ค.1 มีเพียงสิทธิครอบครอง โอนไม่ได้ (เว้นแต่โอนโดยการส่งมอบการครอบครอง) แต่ ส.ค. 1 นำไปจดทะเบียนจำนองได้ หากแต่ผู้รับจำนองจะต้องเสี่ยงภัยเอาเองในเมื่อถึงกาลบังคับจำนองอาจจะบังคับจำนองไม่ได้โดยเหตุที่กล่าวแล้ว
2222222222222222222222222222222222222222222222222222222222

ภาษีที่ดิน


การลดหย่อน ยกเว้น หรือลดภาษีที่ดิน
1.     บุคคลธรรมดา  ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน และใช้ที่ดินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของตน เป็นที่เลี้ยงสัตว์ของตน หรือประกอบกสิกรรมของตน ให้ลดหย่อนจำนวนเนื้อที่ 100 ตารางวา 1 ไร่ 5 ไร่ ตามข้อบัญญัติ กทม. เรื่องการลดหย่อนไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2525 ลงวันที่ 26 มกราคม และ กฎกระทรวง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2525 ลงวันที่ 5 มกราคม 2525 กำหนดท้องที่ชุมชนหนาแน่น มาก ปานกลาง และท้องที่ชนบท ทั้งนี้เฉพาะในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งแต่จังหวัดเดียว ที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างเป็นสถานการค้าหรือให้เช่าไม่ได้รับการลดหย่อน กรณีบุคคลธรรมดาหลายคนเป็นเจ้าของร่วม ได้รับลดหย่อนรวมกัน (ม. 22 และข้อ 5 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516))
2.     ผู้ว่าราชการจังหวัด ยกเว้นหรือลดภาษีที่ดินเพาะปลูกตามระเบียบ มท. ส่วนที่ดินสุสานที่ได้รับประโยชน์ตอบแทนอาจยกเว้นให้ตามกฎกระทรวง(ม.23, ม.23 ทวิ)

กระบวนการหรือขั้นตอนของการภาษีที่ดิน
1.       ผู้เสียภาษี (รวมทั้งหน้าที่ของเจ้าของที่ดิน)
1)    เจ้าของที่ดิน คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์หรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน (ม.6)
2)    เจ้าของที่ดินในวันที่ 1 มกราคม มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้นจากราคาปานกลางของที่ดิน ตามบัญชีอัตราภาษีข้างท้าย (ม. 7)
3)      เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ยืนแบบแสดงรายการเป็นรายแปลง (ม.24)
4)    ผู้มีหน้าที่เสียภาษีชำระภาษีในเดือนเมษายนของทุกปี หรือภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้ง (ม.35)
5)      ผู้ใดไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียเกินรับเงินคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันเสียภาษีหรือวันรับแจ้ง (ม.44)
6)      เจ้าของที่ดินหรือผู้มีหน้าที่ชี้เขตและแจ้งจำนวนที่ดินตามวันเวลาที่ทำการสำรวจ (ม. 28)

2.       การยื่นแบบ
1)    เจ้าของที่ดินยื่นแบบเป็นรายแปลง ถ้าไม่ยื่นแบบเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินย้อนหลังได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันทราบว่ายังไม่ยื่นแบบ และแบบแสดงรายการให้ใช้ได้ทุกรอบ
4 ปี (ม.29, 48 ข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516))
2)      ถ้าเจ้าของที่ดินตาย สาบสูญ หรืออื่น ๆ ให้ผู้จัดการหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ปกครองเป็นผู้ยื่น (ม.25)
3)    นิติบุคคลให้ผู้จัดการหรือผู้แทนยื่นแบบและเจ้าของที่ดินร่วมรับผิดชอบร่วมกันในการยื่นแบบ (ม.26,27)
4)    การยื่นแบบต่อเจ้าพนักงานประเมินตาม ม.29 (ข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516)
5)    เจ้าของที่ดินยื่นแบบเป็นรายแปลงตาม ม. 24, 29 ในเดือนมกราคมของปีแรกที่ตีราคาปานกลางที่ดินตาม ม.16 และให้ใช้ได้ทุกปีในรอบ 4 ปี ยื่นแบบต่อเจ้าพนักงานประเมินตาม ม. 29 (ม.24, 30 และข้อ 6 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2516)
ที่มา  http://www.onep.go.th/Naturalresources/soil/sit/INDEX.HTM


วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การตั้งถิ่นฐานของประชากรในประเทศไทยและเอเชีย

การตั้งถิ่นฐานของประชากรในประเทศไทยและเอเชียมีพัฒนาการดังนี้

1.               สังคมล่าสัตว์  กลุ่มชนเร่ร่อน  )

มีการพบหลักฐานแสดงความเป็นอยู่ของผู้คนในดินแดนประเทศไทยในช่วงแรกๆใช้ชีวิตอยู่
ตามธรรมชาติ   ดำรงชีวิตด้วยการจับสัตว์  เก็บของป่ากินเป็นอาหารโดยใช้มือ  ไม้  ก้อนหิน  ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติเป็นเครื่องมือ  ดังปรากฏหลักฐานที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันคือ  เครื่องมือกระเทาะหยาบๆที่เรียกว่า  ขวานกำปั้น  ผู้คนอยู้รวมกันเป็นกลุ่มหรือครอบครัวขนาดเล็กใช้ชีวิตเร่ร่อนเพื่อหาแหล่งอุดมสมบูรณืของอาหาร  อาศัยถ้ำ  ซอกเพิงผาเป็นที่อาศัยแหล่งที่พบเครื่องมือหินกระเทาะหยาบๆที่เรียกว่าขวานกำปั้นได้แก่  พม่า  ในลาว  ในไทยซึ่งได้แก่  ตบ้านเก่า  อ.เมือง 
กาญจนบุรี  อ.เมือง  จ.ราชบุรี  อ.บ้านหมี่  จ. ลพบุรี   อ. เชียงแสน  จ.เชียงราย  อ.จอมทอง 
เชียงใหม่  เครื่องหินที่พบมีอายุประมาณ  9500-7500  ปีก่อนพุทธศักราช และมีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ชวาเมื่อปี  ค..  1819  ในเกาะชวาภาคกลางด้วย
2.  สังคมระดับหมู่บ้าน
        มีการพัฒนาด้านชีวิตความเป็นอยู่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้นเป็นหมู่บ้านรู้จักการเพาะปลูก 
สร้างบ้านเรือน  รูจักประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ให้ประณีตมากขึ้น  และมีรูปร่างต่างๆในการทำภาชนะดินเผามีการทำลวดลายด้วยการใช้สี  เครื่องประดับด้วยหิน  กระดูกสัตว์และเปลือกหอย  พบโครงกระดูกมนุษย์แสดงร่องรอยของการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการฝังศพ  ที่ตำบลบ้านเก่า
 . เมือง  จกาญจนบุรี  ผู้คนในหมู่บ้านมีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ  นับถือผีบรรพบุรุษและร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ที่เรียกว่า  ลงแขก  พบร่องรอยสังคมหมู่บ้านกระจายอยู่ทั่วไปเกือบทุกภาค  เช่น  กาญจนบุรี  ราชบุรี  สุพรรณบุรี  ลพบุรี  นครสวรรค์  ชุมพร  สุราษฎร์ธานี  นครศรีธรรมราช  สงขลา  ตรัง  เป็นต้น  ผู้คนในสมัยสังคมหมู่บ้านรู้จักทำเครื่องใช้  ด้วยโลหะสำริด  เช่น  กลองมะโหระทึก  อาวุธ  และภาชนะต่างๆดังปรากฎที่เมืองดองซอน  ประเทศเวียดนาม  เรียกว่า  วัฒนธรรมดองซอน  มีการสร้างอนุสาวรีย์หินใหญ่มีการแกะสลักลวดลาย  เพื่อปกป้องคนตาย  หืออุทิศให้ผู้ตายซึ่งพบอยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เช่น  ที่เมืองเชียงขวาง  ที่ประเทศลาว
3.              สังคมระดับเมือง
พบหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นการรวมตัวของหมู่บ้านหลายหมู่บ้านเข้าเป็นเมืองในช่วง
พุทธศตวรรษที่  6-12  โดยมีการกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย  มีผู้คนที่เป็นชาวพื้นเมืองและอพยพมาจากทิ่อื่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งมีการติดต่อกับดินแดนภายนอก เช่น  มอญ  เขมร  จีน  ในด้านการค้า  และการรับวัฒนธรรม เช่น  ด้านภาษา ด้านศาสนา  ด้านวรรณกรรม ด้านการปกครอง  ด้านศิลปกรรม  ด้านเศรษฐกิจ  เป็นต้น

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์

        ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ของประชากรในประเทศไทยและ

เอเชีย  ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

1.              ปัจจัยทางภูมิประเทศ  การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์กระจายตัวอยู่ในที่ต่างๆไม่เท่ากันขึ้น
อยู่กับลักษณะทางกายภาพที่จะส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรค  เช่น
1.1      ที่ตั้งตามละติจูด  เขตร้อนหรือเขตละติจูดต่ำมีการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ราบสูง
มาก  เพราะอากาศเย็นสบายกว่าพื้นราบ เช่น  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยซึ่งมีพัฒนาการความเจริญมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  เช่น  อารยธรรมบ้านเชียง  อหนองหาน  จ.อุดรธานี
1.2      ความสูงต่ำของพื้นที่  บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพบว่ามีการตั้งถิ่นฐานหนาแน่น
เพราะมีความอุดมสมบูรณ์  เหมาะกับการเพาะปลูก  การคมนาคมสะดวก  เช่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ป่าสัก  ท่าจีน  บางปะกง  ในภาคกลางของไทย  ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในกัมพูชา  และเวียดนาม  ลุ่มแม่น้ำแดง  ลุ่มแม่น้ำแยงชีเกียง  ล่มแม่น้ำพรมบุตร  ลุ่มแม่น้ำคงคา  ฯลฯ  ดินแดนเหล่านี้เป็นแหล่งอารยธรรมความเจริญมาช้านาน
1.3      ชนิดของดิน  ดินบริเวณดินดอนสามเหลียมปากแม่น้ำเป็นที่ราบดินตะกอนที่
น้ำพัดพามา และดินที่เกิดจากภูเขาไฟที่เกาะชวาในประเทศอินโดนีเซียบริเวณที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ มักมีประชากรหนาแน่น
1.4      แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ  และพลังงานมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจดึงดูดให้
ผู้คนอพยพมาตั้งถิ่นฐาน  เช่น  ถ่านหิน  ดีบุก  และน้ำมันปิโตรเลียม  หลายภูมิภาคในทวีปเอเชีย  เช่น   เอเชียตะวันตกเฉียงใต้  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เอเชียตะวันออกเป็นต้น  มีทรัพยากรเหล่านี้ซึ่งมีประโยชน์ และคุณค่าทางเศรษฐกิจ
2.              ปัจจัยทางภูมิอากาศ  ภูมิอากาศและพืชพันธ์ธรรมชาติเป็นตัวกำหนดการตั้งถิ่นฐาน
ของมนุษย์  ประเทศไทยและภูมิภาคในทวีปเอเชีย  มีภูมิอากาศที่เหมาะต่อการตั้งถิ่นฐาน ดังนี้
2.1      ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร  หรือป่าฝนเมืองร้อน  มีฝนตกตลอดปี  และมี
อุณหภูมิสูง  ประชากรในแถบนี้  เช่น  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ภาคใต้ของไทยประกอบอาชีพเก็บของป่า  ล่าสัตว์  ทำไร่เลื่อนลอย  ปลูกพืชเมืองร้อน  เช่น  อ้อย  ข้าวเจ้า  เครื่องเทศ  ยางพารา  เป็นต้น
2.2      ภูมิอากาศแบบมรสุม  ลักษณะอากาศฤดูร้อนจะร้อน  ฝนตกชุกในฤดูที่มรสุม
พัดผ่าน  ประชากรประกอบอาชีพเพาะปลูก  ทำป่าไม้  เช่น  ไทย  พม่า  กัมพูชา  เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  เป็นต้น
2.3      ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน  หรือสะวันนา  มีอุณหภูมิสูงตลอดปี  ฝนตก
ระยะสั้นประชากรประกอบอาชีพทำไร่เลื่อนลอย  ปลูกพืชเศรษฐกิจ  เช่น  ฝ้าย  อ้อย  สับปะรด  ภูมิอากาศแบบนี้พบบริเวณตอนกลางของอินเดียพม่า  และคาบสมุทรอินโดจีน   เป็นต้น
                2.4  ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตอบอุ่น  มีฝนตกในฤดูร้อน  ฤดูหนาวค่อนข้างหนาว  ได้แก่บริเวณ  ภาคตะวันออกของจีน  ภาคใต้ของญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  ฮ่องกง  ตอนเหนือของอินเดีย  ลาว  และตอนเหนือของเวียดนามปลูกพืชเศรษฐกิจที่เป็นพืชเมืองหนาว
3.              ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม  เป็นตัวกำหนดแบบแผนในการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ 
เช่น  ความเชื่อถือ  ศาสนา  การประกอบพิธีกรรม ซึ่งทวีปเอเชียเป็นทวีปที่เป็นต้นกำเนิดศาสนาที่สำคัญ  เช่น  ศาสนาพุทธ  ศาสนคริสต์  ศาสนายูดาย  เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประชากรโลก (World population)


  ปัจจุบันประชากรโลก ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก เกิดจากอัตราการเกิดและการตาย ซึ่งส่งผลกระทบเช่นเดียวกัน ในทุกประเทศทั่วโลก ด้วยองค์การสหประชาชาติ (UNFPA)ได้เล็งเห็นความสำคัญของประชากรหรือมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวแปรหลัก ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะต่างๆ โดยทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลอง จำนวนประชากรโลกที่มีจำนวนครบ 5,000 ล้าน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2530 องค์การสหประชาชาติ จึงได้ประกาศให้วันที่ 11 กรกฏาคมของทุกปี เป็นวันประชากรโลก และในเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้มีการประมาณว่าจะมีจำนวนประชากรถึง 6,600 ล้านคน (6,700 ล้านคนในเดือน เมษายน 2552)
          ประชากรโลกนั้นมีแนวโน้มว่าจะมีวัยเด็กลดน้อยลง โดยจำนวนของประชากรสูงอายุมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น แสดงว่าโครงสร้างของประชากรได้เปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุ (Anging Society) ซึ่งขณะนี้ยุโรปกลายเป็นภูมิภาค ที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอิตาลี กรีซ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ หลายต่อหลายประเทศ จึงพยายามศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อพัฒนาประเทศของตนให้มีคุณภาพกลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ” ต่อไปในอนาคต
          ชาวเอเชียมีจำนวนสูงถึง 60% ของจำนวนประชากรโลก ซึ่งประเทศจีน เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และตามมาด้วยประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 19 โดยมีประชากรจำนวน 60 ล้านคน (2539) ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ว่าในปี พ.ศ.2562 ประชาชนชาวไทยจะมีจำนวน 70 ล้านคน
          ในประเทศไทย ก็มีแนวโน้มเข้าสังคมผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรไทยลดลง สืบเนื่องมากจากการวางแผนครอบครัว ซึ่งพบว่าปัจจุบันประชากรไทย มีอัตราเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน หรือผู้หญิงหนึ่งคนจะมีลูกไม่เกิน 2 คน อีกทั้งประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2527 คิดเป็นร้อยละ 5.7 และในปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 9.6 คาดว่าน่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.7 ในปี 2562 แสดงว่าในอนาคตประเทศไทย น่าจะมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก เพราะฉะนั้นประชากรไทย และประชากรทั่วโลก จะต้องมีแผนการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจเพื่อรองรับระบบสังคมในอนาคตต่อไป




การเจริญเติบโตในแต่ละทวีป









10 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก

1. Chaina1,369 millions19.84% of world
2. India1,201 millions16.96% of world
3. United States304 millions4.56% of world
4. Indonesia232 millions3.47% of world
5. Brazil187 millions2.80% of world
6. Pakistan163 millions2.44% of world
7. Bangladesh159 millions2.38% of world
8. Nigeria148 millions2.22% of world
9. Russia142 millions2.13% of world
10. Japan128 millions1.92% of world

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรโลก


ปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจาก
  1. การค้นคว้าทางการแพทย์
    • ที่มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันและรักษาโรค รวมถึงมีองค์การที่เกี่ยวกับการระบาดของโรคและวัฏจักรของการแพร่เชื้อโรค
  2. ความรู้เรื่องสุขอนามัยของประชากร
    • ประชากรโลกแทบทุกประเทศมีความรู้เรื่องสุขอนามัยมากขึ้นรวมทั้งมีการจัดการระบบ การวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ
  3. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
    • ที่ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เช่น ผู้ป่วยสามารถปรึกษาอาการกับแพทย์ ได้ทางโทรศัพท์หรือสื่อต่างๆ หรือการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ผ่านระบบโทรคมนาคมต่างๆ เป็นต้น
  4. ระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
    • ผู้หญิงเริ่มมีบทบาททางสังคมมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงทีมีทัศนคติต่อการแต่งงานเป็นด้านลบ ส่งผลให้จำนวนประชากรวัยเด็กลดน้อยลง

ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก


ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก
  1. ปัญหาการขาดแคลนอาหารและทัพยากร
    • เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากอาหารและทรัพยากรต่างๆ ย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก่อให้เกิดการขาดแคลนในบางประเทศที่กำลัีงพัฒนา
    • การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาจทำให้อาหารมีสารพิษปนเปื้อน หรือ ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ
  2. ปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
    • เมื่อมีการขาดแคลนทรัพยากรเกิดขึ้นทำให้ต้องมีการบุกรุกป่าไม้ เพื่อที่จะหาทรัพยากร ทำให้เกิดการขาดพื้นที่ป่าไม้ และเป็นการทำลายระบบนิเวศน์
    • ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างมาก มีการปล่อยของเสียสู่ที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดมลพิษ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชากรโลก และ ทำให้สภาพอากาศโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
  3. ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
    • เมื่อทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด แต่ประชากรกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยกรและการแข่งขันทางสังคมสูงขึ้น
    • ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม เช่น การขาดการศึกษา สุขภาพอนามัยไม่ดี ขาดแคลนที่อยู่ และ ปัญหาการว่างงาน
  4. ปัญหาการขัดแย้งระหว่างประเทศ
    • ประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว บางประเทศมีนโยบายระบายประชากรออก เเพื่อแสวงหาอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งอาจทำหใ้เกิดการขัดแย้งขึ้นประหว่างประเทศ
    • ก่อให้เกิดปัญหา รุกกล้ำข้ามพรมเดิน หรือ ผู้อพยบเข้ามาอย่างผิดกฏหมาย